Thursday 12 January 2017

เครื่องปั้นเม็ดถ่าน CRU CPMM 59

VDO https://www.facebook.com/prachidtin/videos/1285987788079570/
เครื่องปั้นเม็ดถ่าน CRU CPMM 59 (Charcoal Pellet Moulder Machine)  เครื่องมือช่วยให้เกิดการใช้งานถ่านไม้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถปั้นเม็ดผงถ่าน และวัสดุที่เป็นฝุ่นผงอื่นๆได้อีกมากมาย โดยมีทีมงานออกแบบ เขียนแบบ และสร้าง โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร คณาศักดิ์ พงษ์พาลี จ่าเอกสมบัติ วิสุทธิ์พันธ์ และช่างชุมชนตำบลหนองแซง ขนาด 1.50 x 1.80 x 1.60 ,ม สร้างด้วยงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าถ่านดูดกลิ่น สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม งบประมาณรายได้ ปี 2559 เป็นเงิน 45.000 บาท ผลประโยชน์ได้จากการวิจัย ทำให้เกิดการใช้ถ่านอย่างประหยัดและคุ้มค่า ในการใช้เป็นวัตถุดิบหลัก ของการนำไปออกแบบพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจได้อย่างหลากหลายรูปแบบ สามารถสร้างอาชีพ ปรับประยุกต์ร่วมกับการผลิตวัสดุเพื่อการเกษตร การสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านและผลิตภัณฑ์ชุมชนแขนงอื่นๆได้มากมาย










Saturday 7 January 2017

แบบสำรวจความพึงพอใจในผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท

   ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมทำแบบสำรวจความพึงพอใจในผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท เพื่อเป็นประโยชน์เชิงลึกแก่การวิจัยและให้เกิดผลต่อการพัฒนาสินค้าชุมชนต่อไป
        กรุณาตอบคำถามตาม กรอกข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ดาวแดงกำกับไว้ทุกข้อทุกส่วน จึงจะทำหน้า ถัดไปได้โดยระบบจะแจ้งเตือนให้เห็นเป็นพื้นแดงในรายการ/ข้อที่ท่านยังไม่ตอบ
        ผู้วิจัยขอขอบคุณทุกท่าน มาณ ที่นี้เป็นอย่างสูง และขอความกรุณาตอบ ภายในวันที่ 15 มกราคม 2560 นี้
        ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ประจำสาข่าวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Friday 6 January 2017

การทดลองเผาถ่านด้วยเตาถังน้ำมัน แนวนอนและแนวตั้ง

การทดลองเผาถ่านด้วยเตาถังน้ำมัน แนวนอนและแนวตั้ง โดย ลุงเด่น กาฬภักดี และ ผศ.ประชิด  ทิณบุตร ณ บ้านบ่อม่วง ต.สุขเดือนห้า อ.เนินขาม จังหวัดชัยนาท 2559 การวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท

Friday 2 December 2016

ผลงานการมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine)

ผลงานการมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) ให้สามารถผสม บด ปั่น ปั้น เศษ ผงถ่าน จากถ่านไม้เบญจพรรณ ถ่านชีวมวลทางการเกษตร เป็นเม็ดขนาดเล็กเปิดผิวหน้ารับกลิ่น เพื่อสะดวกต่อการนำไปบรรจุ ใช้เป็นวัสดุส่วนร่วมทำหน้าที่ดูดกลิ่นได้สะดวกต่อการออกแบบสร้างสรรค์รูปลักษณ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจ




Saturday 15 August 2015

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัย วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR)

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกองทุนเพื่อการเกษตรชุมชนบ้านแหลมทอง ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อเอาถ่าน owtarn‬ ณ  ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจ่าสมบัติ โดยการบรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ จากถ่านอัดแท่ง การร่วมวิพากษ์ การสาธิตและร่วมผลิตก้อนถ่านอัดมือ การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 6-8-2558


ตำบลหนองแซง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ซึ่งมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 20 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร ประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 80 และวิถีการทำการเกษตรกรรมของประชาชนในแต่ละปี เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรคิดเป็นมูลค่าร่วม 30 ล้านบาท และจากการที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก จึงทำให้คุณภาพของดินเสื่อมโทรมลงเป็นอย่าง จึงเป็นที่มาของการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชนในการลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตรลง และต่อมาจึงเป็นจุดกำเนิดของ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง ชุมชน/ เทศบาล/ หน่วยงานราชการ/ ภาคเอกชน โดยได้มีการบูรณาการความร่วมมือกันส่งเสริม สนับสนุน โดยจุดก่อเกิดเริ่มจากโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท “เศรษฐกิจพอเพียง”

Sunday 2 August 2015

คุณสมบัติของถ่าน

          เมื่อกล่าวถึง “ถ่าน” หลายคนคงจะนึกถึงชิ้นไม้ดำๆที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้มอาหารในครัวเรือนเท่านั่น แต่จริงแล้วถ่านมีคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถดูดซับกลิ่นเหม็นอับไม่พึงประสงค์ต่างๆได้ซึ่งจะเห็นจากการนำถ่านมาไว้ในตู้เย็น ทำให้ตู้เย็นไม่มีกลิ่นเหม็นคาว ใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้า และตู้โชว์ เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นอับผลผลิตถ่านไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่หลายท่านเข้าใจกันเพียงแต่นำไปใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือนเท่านั้น ในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตถ่านไม้อย่างล้ำหน้าจะสามารถผลิตถ่านขาวหรือ White Charcoal เพื่อใช้ถ่านขาวในเชิงเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ เช่น ใช้ถ่านขาวใส่ลงในกาต้มน้ำร้อนเพื่อทำน้ำแร่ เพราะถ่านชนิดนี้จะละลายแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาเพิ่มคุณภาพและรสชาติของน้ำร้อน ใช้ชงกาแฟหรือจะใช้ผสมเหล้าวิสกี้ก็จะได้รสชาติที่นุ่มละมุน นี่เป็นตัวอย่างการใช้ถ่านแบบพิเศษในต่างประเทศ ในบ้านเรา ผลผลิตถ่านส่วนใหญ่จะเป็นถ่านดำทีผลิตภายใต้อุณหภูมิต่ำซึ่งไม่เหมาะจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ปิ้ง – ย่างอาหาร แต่ถ่านดำได้เปรียบกว่าถ่านบริสุทธิ์ตรงที่ผลิตได้จำนวนมากกว่า ซึ่งเหมาะแก่การนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงอื่น ๆ ที่ไม่เป็นการประกอบอาหารโดยตรง เช่น ใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหินชนิดต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีค่ามลพิษที่สูงมาก แต่อย่างไรก็ดี ถ่านดำที่ผลิตด้วยอุณหภูมิสูงที่เราเรียกว่าถ่านบริสุทธิ์นั้น หากมีปริมาณผลผลิตที่มากพอและคงที่ ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมได้ สิ่งที่ทำให้ถ่านมีความสามารถในการดูดซับกลิ่นได้
      โดยเฉพาะ ถ่านไม้ไผ่(bamboo charcoal) เนื่องจากโครงสร้างของถ่านไม้ไผ่มีลักษณะเป็นรูพรุนเล็กๆมากมาย โดยกลิ่นเหม็นอับต่างๆจะเเพร่เข้ารูพรูน หากถ่านมีรูพรุนมากๆก็จะทำให้ดูดซับกลิ่นได้มากตามไปด้วย
      ถ่านไม้ไผ่ (Bamboo Charcoal) ภาษาญี่ปุ่นเรียก ทาเคะสึมิ (takezumi) หรือ คิคุตัน (tikutan)ทำมาจากไม้ไผ่ ( Bamboo ) เป็นถ่านที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมมากมาย
ถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC แตกต่างไปจากถ่านทั่วไป หรือแม้แต่ถ่านขาว ( White Charcoal ) หรือบินโจตัน ( Binchotan ) ที่มีผลิตกันมากในประเทศญี่ปุ่นและจีน ปัจจุบันประเทศจีนปิดป่าจึงไม่มีการผลิตถ่านทั้งสองชนิดนี้แล้ว
ถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC มีลักษณะพิเศษ ดังนี้ :-
• มีรูพรุนมากกว่า หากนำมาแผ่กระจายออกเป็นพื้นที่จะได้พื้นที่มากถึง 300 ถึง 700 ตร.ม / กรัม ( ถ่านไม้ทั่วไป จะได้พื้นที่ประมาณ 50 ตร.ม / กรัม )
• มีค่าความด้านทานไฟฟ้า ( Resistance ) ต่ำ ( ไม่เกิน 100 โอห์ม )
• มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย
จีน และ ญี่ปุ่น ได้ทำการวิจัยถ่านไม้ไผ่ ที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยอุณหภูมิภายในเตามากกว่า 1,000 ºC พบว่ามีคุณสมบัติพิเศษ สามารถให้กำเนิดและปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray )
จากคุณสมบัติดังกล่าว ถ่านไม้ไผ่ จึงถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ เป็นที่นิยมมากในประเทศญี่ปุ่นและมีราคาแพง เช่น :-
1. ใช้เป็นวัสดุตบแต่งบ้านเรือน ( Decorate ) ช่วยฟอกอากาศ ดูดกลิ่น ( Deodorizing ) ความชิ้น ( Moisture ) ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ
1.1 ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ในปริมาณที่เหมาะสมกับพื้นที่
2. ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองลดการเน่าเสียของน้ำ ช่วยบำบัดน้ำเสีย เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม แมกเนเซี่ยม ฯลฯ
2.1 ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาตรน้ำ
3. แช่ในถังน้ำดื่ม ช่วยดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ
3.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด
3.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที
3.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง ไม่ควรนำออกตากแดด
3.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 100 กรัม ( 1 ชิ้น ) ต่อน้ำ 1 ลิตรแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2 ~ 3 ชั่วโมง น้ำจะมีคุณสมบัติเหมือนน้ำแรธรรมชาติหรือดีกว่า
3.5 หลังจากใช้ถ่านไม้ไผ่ในน้ำดื่มครบ 1 อาทิตย์ ควรนำออกมาต้มด้วยน้ำเดือด และสามารถใช้ได้ 1 เดือนต่อถ่านไม้ไผ่ 100 กรัม
4. ใส่หม้อหุงข้าวขณะที่หุงข้าว ช่วยดูดซับคลอรีน กลิ่นเหม็นอับของข้าวสารเก่า และสิ่งที่มีพิษ เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม แมกเนเซี่ยม ฯลฯ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว (Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เพิ่มรสและความนุ่มให้ข้าวสุก
4.1 ทำความสะอาดถ่านไม้ไผ่ด้วยแปรงหรือฟองน้ำ ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจานเด็ดขาด
4.2 ต้มถ่านไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำเดือดประมาก 10 นาที
4.3 นำออกมาวางไว้ปล่อยให้แห้ง ไม่ควรนำออกตากแดด
4.4 ใช้ถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม ( 3 ชิ้น ) ต่อข้าว 1 หม้อ
4.5 ใช้ได้ 10 ~ 15 ครั้ง
5. ใส่ในอ้างอาบน้ำ ช่วยดูดซับคลอรีน และสิ่งที่มีพิษ เพิ่มแร่ธาตุ และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ ชำระล้างผิวหนัง กระตุ้นการการไหลวนของเลือด ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
5.1 บรรจุถ่านไม้ไผ่ 300 กรัม ในถุงตาข่าย
5.2 แช่ถุงถ่านลงในอ่างอาบน้ำ
5.3 เพิ่มอุณหภูมิของน้ำให้อุ่น
5.4 เอาถุงถ่านออกจากอ่างเมื่ออาบน้ำเสร็จ
5.6 ถ่านไม้ไผ่ 1 ถุงใช้ได้ 2 เดือน
6. ใส่ไว้ในที่นอน ไต้เตียง ในห้องนอน ช่วยฟอกอากาศ ดูดกลิ่น ความชิ้น ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ กระตุ้นการการไหลวนของเลือด จิตใจสงบเย็นในขณะพักผ่อนและช่วยให้นอนหลับได้ดี ร่างกายสดชื่น
6.1 ห้องขนาด 3.2 ม. x 3.2 ม. ต้องใช้ถ่านไม้ไผ่ 3 กก./ห้อง
7. ดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้า ( Adsorption of Electromagnetic Wave ) ช่วยดูดซับและหักเหคลื่นไฟฟ้าที่แผ่กระจายออกมาจาก ทีวี คอมพิวเตอร์ จอมอนิเตอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปิดใช้งานอยู่ภายในบ้านและสถานที่ทำงาน ดูดซับลดการแผ่กระจายของคลื่นไฟฟ้าจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
8. ฟอกและปรับอากาศ ใต้เตียงนอน และใต้อาคารบ้านเรือน ช่วยดูดซับความชิ้นในฤดูที่มีความชื้นสูง และคลายความชิ้นในฤดูที่มีความแห้งแล้ง
9. ใช้ผสมอาหารสัตว์ ช่วยเพิ่มแร่ธาตุ ดูดซับสารพิษ กำจัดแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์
10. ใช้ผสมดินเพื่อการเพาะปลูก ช่วยปรับสภาพของดิน เพิ่มแร่ธาตุที่พืชต้องการ

11. ใส่ในตู้เย็น ช่วยกูดกลิ่น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ช่วยให้ผักสดเก็บไว้ได้นานวันขึ้น ถ่านไม้ไม้จะดูดซับก๊าชที่ผักและผลไม้คายออกมาซึ่งมีผลให้ผักและผลไม้เน่าเสีย
12. ใส่ในถังข้าวสาร ช่วยกูดกลิ่น ความชื้น และปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ป้องกันมอด และแมลงต่าง ๆ
13. ใสไว้ในแจกันหรือกระถางดอกไม้ ทำให้เกิดออกไซด์ เพิ่มออกซิเจนและแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ให้กับน้ำในแจกันหรือกระถางดอกไม้
14. ใส่ในตู้กระจกหรืออ่างเลี้ยงปลา ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพิ่มแร่ธาตุ แคลเซี่ยม โพตัสเซี่ยม แมกเนเซี่ยม ฯลฯ ทำให้น้ำใสสะอาด ช่วยเร่งการตกตะกอนของฝุ่นละอองในน้ำ
15. ทำห้องบำบัดสุขภาพ ช่วยฟอกอากาศภายในห้อง ดูดกลิ่น ( Deodorizing) ความชิ้น (Moisture) ปลดปล่อยประจุลบ ( Negative Ions ) และ อินฟาเรดยาว ( Far infrared ray ) ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ
นอกจากนั้นยังใช้ถ่านไม้ไผ่เป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้อีกมากมายหลายชนิด เช่น สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ถ่านเม็ดดูดสารพิษ ฯลฯ

ถ่านนี้ดีอย่างไร ทำไมถึงต้องเอาถ่าน

 ถ่านไม้ที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นเป็นคาร์บอน (Carbon) ชนิดหนึ่งครับ คาร์บอนเป็นธาตุชนิดหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไปบนโลก ร่างกายของคนสัตว์และสิ่งมีชีวิตต่างๆล้วนแต่ประกอบไปด้วยคาร์บอนทั้งนั้น ถ่านเป็นธาตุประเภทอโลหะ คือไม่ใช่โลหะ มีคุณสมบัติพิเศษมากมายชนิดที่หาธาตุอื่นใดมาเทียบได้ยาก มีทั้งชนิดที่สีดำสนิทและใสกิ๊งไม่มีสี มีทั้งที่เนื้อเปื่อยยุ่ยไปจนถึงแข็งแกร่งที่สุด

        คำว่า carbon ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า carbo ซึ่งแปลว่า ถ่านหิน กับถ่านไม้ ใน     ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า charbon แปลว่าถ่านไม้
มนุษย์เรารู้จักคาร์บอนมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ คาดกันว่าคนยุคแรกๆรู้จักถ่านจากกิ่งไม้ใบไม้ที่ถูกเผาจนเป็นถ่านก้อนดำๆนั่นเอง แต่ก็ยังไม่รู้จักการจะนำสิ่งที่เห็นนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากนัก นอกจากนำมาใช้เขียนภาพบนผนังถ้ำเมื่อประมาณสัก 30,000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งชาวโรมันค้นพบวิธีการทำถ่านไม้และนำถ่านที่ได้นั้นมาเป็นเชื้อเพลิงอีกต่อ
        ในราวหนึ่งพันหนึ่งร้อยปีก่อนคริสตกาลซึ่งยุคนั้นมนุษย์รู้จักการนำธาตุเหล็กมาใช้แล้ว ช่างเหล็กพบว่าถ้านำชิ้นงานที่ตีขึ้นรูปแล้วเข้าไปเผาใหม่พร้อมกับผงถ่าน ถ่านบางส่วนจะเข้าไปผสมกับเนื้อเหล็ก ทำให้ได้เหล็กที่แข็งขึ้นกว่าเดิม และจะแข็งยิ่งขึ้นหากนำเหล็กนั้นแช่ในน้ำเพื่อให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว นั่นคือการค้นพบเหล็กกล้าที่เป็นผลมาจากคาร์บอนนั่นเอง
        และอีกประมาณห้าร้อยปีหลังจากนั้น ชาวจีนมีการพัฒนาเตาเผาเหล็กที่สามารถให้ความร้อนสูงจนเหล็กเกิดการหลอมละลายได้ คนจีนเอาถ่านเข้าไปผสมกับเหล็กที่หลอมละลายนั้น แล้วเทน้ำเหล็กดังกล่าวลงในแม่พิมพ์ เมื่อเย็นลงก็ได้เหล็กที่แข็งมากและมีรูปร่างต่างๆตามต้องการ เหล็กชนิดนี้ก็คือเหล็กหล่อ หรือ Cast Iron นั่นเอง


   
        นอกจากการใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้าชนิดต่างๆแล้ว คาร์บอนยังมีความสำคัญในอุตสาหกรรมอื่นๆอีกมากมาย ด้วยความพิเศษหาใดเหมือนของมันเอง คาร์บอนแม้จะไม่ใช่โลหะ แต่แกรไฟต์ซึ่งเป็นคาร์บอนชนิดหนึ่งกลับมีคุณสมบัติเป็นตัวนำทั้งกระแสไฟฟ้าและความร้อนได้อย่างดี มันจึงถูกนำไปใช้ในการผลิตถ่านไฟฉาย การผลิตแบตเตอรี่บางชนิด ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แม้กระทั่งดินสอที่เราใช้กันมาตั้งแต่เด็กก็มีไส้ที่ทำจากแกรไฟต์ หรืออุปกรณ์กีฬาที่ต้องการความทนทานมาก อย่างแร็กเกตแบดมินตัน ไม้เทนนิส ก้านไม้กอล์ฟ เบ็ดตกปลา ก็ใช้แกรไฟต์ที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยผสมผสานกับวัสดุอื่นๆออกมาจนได้ชิ้นงานที่เรียกว่า คาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งแข็งแรงกว่าเหล็กกล้า มีน้ำหนักเบากว่ามาก แถมยังมี คุณสมบัติด้านอื่นๆที่ดีกว่าอีกหลายอย่าง



        และที่เด็ดกว่านั้น แฟนานุแฟนทราบหรือไม่ครับว่าอัญมณีเลอค่ามหาแพงอย่างเพชร ก็คือคาร์บอนชนิดหนึ่ง แต่เป็นคาร์บอนที่มีลักษณะผลึกเป็นแปดเหลี่ยม มีความแข็งที่สุดคือระดับ 10 ตามการวัดค่าความแข็งแบบโมส์ (Moh’s Scale) ตรงข้ามกับแกรไฟต์ที่เป็นคาร์บอนแบบที่มีความนุ่ม และผลึกของแกรไฟต์ก็มีแค่สามเหลี่ยม
         คาร์บอน เมื่อรวมตัวกับออกซิเจน จะเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อรวมกับไฮโดรเจน จะเกิดเป็นสารประกอบต่างๆ ที่เรียกรวมๆ ว่าไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจำเป็นต่ออุตสาหกรรมในรูปแบบของเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อรวมกับทั้งไฮโดรเจนและออกซิเจน สามารถจะเกิดเป็นสารประกอบได้หลายประเภท เช่น กรดไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต และเอสเทอร์ ซึ่งให้รสชาติแก่ผลไม้หลายชนิด
            มีคาร์บอนอีกชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากถ่านทั่วๆไป เรียกว่า ถ่านกัมมันต์ ในภาษาอังกฤษคือ แอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอน (Activated Carbon บางครั้งก็เรียกว่า Activated Charcoal หรือ Activated coal) ถ่านชนิดนี้เป็นถ่านที่ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดรูพรุนขึ้นในตัวมันเองมากมาย ซึ่งรูพรุนนั้นเองทำให้เกิดพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้น มีคุณสมบัติในการดูดซับสิ่งต่างๆที่อยู่ในของเหลวหรือก๊าซได้ปริมาณสูง



        การผลิตแอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอน จะใช้วัตถุดิบจากอินทรียวัตถุต่างๆกันเช่น ไม้ เอามาเผาเป็นถ่าน และทำการ activate ภายใต้ความร้อนสูงและไอน้ำในสภาวะปราศจากออกซิเจน เพื่อเป็นการกำจัดสารประกอบต่างๆที่ยังหลงเหลืออยู่ให้มีเพียงคาร์บอนบริสุทธิ์อย่างเดียวและเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซับให้มากที่สุด แอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนถูกนำไปใช้ในการกรองเอาสารประกอบอินทรีย์ต่างๆที่ไม่ต้องการออกจากของเหลวหรือก๊าซ เช่น ใช้ในการกรองน้ำดื่มให้สะอาดปราศจากสี กลิ่น กรดบางชนิด ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ใช้ในการฟอกสีของเหลวต่างๆ ใช้ในการทดลองวิจัยเพื่อแยกและเตรียมสารเคมี ทางการแพทย์นำไปใช้ในการกำจัดพิษ การฟอกเลือด และอื่นๆ ใช้กรองกลิ่นและก๊าซที่ไม่ต้องการ ในหน้ากากกรองสารพิษ และเครื่องฟอกอากาศ



        ปัจจุบันนี้ แอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ เช่น เครื่องกรองน้ำขนาดเล็กที่ใช้กันตามบ้านแบบสองท่อหรือสามท่อก็ตาม จะต้องมีท่อหนึ่งที่มีไส้กรองข้างในเป็นไส้กรองถ่าน เพื่อกรองสีและกลิ่น สารคลอรีน และโลหะหนักบางชนิด ทำให้น้ำที่ผ่านออกมาสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนดังกล่าว ไส้กรองถ่านที่ว่าก็บรรจุแอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนไว้ข้างในนั่นเอง ในเครื่องฟอกอากาศหรือเครื่องปรับอากาศบางรุ่นก็มีไส้กรองที่บรรจุแอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนไว้ข้างใน เพื่อดักจับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้อากาศในห้องบริสุทธิ์สะอาดขึ้น



        หลายปีที่ผ่านมา มีการใช้แอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนในการทำความสะอาดแผล และการค้นพบใหม่ล่าสุด แสดงให้เห็นว่าแอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนสามารถดูดซับและกำจัดแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งปฏิกูลที่หลั่งออกมาจากเชื้อราหรือแบคทีเรียได้ด้วย



        หรืออย่างเวลาเรารับประทานอาหารเป็นพิษแล้วเกิดอาการปวดท้อง สิ่งที่จะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วก็คือ การกลืนยาเม็ดสีดำซึ่งก็คือแอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนนั่นเองลงไป มันจะเข้าไปช่วยดูดซับเอาพิษที่ยังคงอยู่ในกระเพาะเข้าไปไว้ที่ตัวมัน เพื่อลดปริมาณของพิษที่จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ก่อนจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย ข้อมูลทางการแพทย์บอกว่า โดยเฉลี่ยมันสามารถลดพิษได้ถึง 60% จากสารพิษที่กินเข้าไป (ลดได้ราว 90% ในสามสิบนาทีแรกหลังจากกิน และลดได้ 37% หลังจากกินไป 1 ชั่วโมง)
        นอกจากในรูปแบบที่กล่าวมาแล้ว แอ็คทิเวตเท็ด คาร์บอนยังถูกนำไปผลิตเป็นแผ่นทำความสะอาดรูขุมขน สบู่อาบน้ำ และแชมพูสระผมด้วย ในยุคที่มลพิษรายล้อมอยู่รอบตัวอย่างนี้ เราสัมผัสกับสารพิษต่างๆโดยที่รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง โดยเฉพาะคนในเมืองที่ต้องผจญกับอากาศที่เต็มไปด้วยไอเสียจากรถตามท้องถนน แชมพูซึ่งผสมแอ็ค-ทิเวตเท็ด คาร์บอนดังกล่าวจึงช่วยดูดซับสิ่งสกปรก ช่วยทำให้รูขุมขนบนหนังศีรษะสะอาด ปราศจากน้ำมัน สิ่งสกปรก สิ่งตกค้างอุดตัน ที่ก่อให้เกิดรังแคบนหนังศีรษะ ในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แชมพูชนิดนี้กำลังได้รับความนิยมมาก



        ไม่น่าเชื่อเลยว่า ถ่านที่บางคนรังเกียจที่จะจับต้องเพราะกลัวเปื้อนเปรอะเลอะมือ จะเป็นคาร์บอนเหมือนกับเพชร และถ่านดำๆก็ยังนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อขจัดพิษ เพื่อความสะอาดและความสวยความงามได้เป็นอย่างดีอีกด้วย