Saturday, 15 August 2015

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัย วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR)

ผศ.ประชิด ทิณบุตร และคณะผู้วิจัยลงพื้นที่วิจัยที่ชัยนาท วิจัยวิทยาแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม (Community Based participatory Research : CBPR) โดยให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม(Focus Groups) ในการตัดสินใจในผลงานการออกแบบพัฒนา ผลงานออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ของวิสาหกิจชุมชนกองทุนเพื่อการเกษตรชุมชนบ้านแหลมทอง ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท สร้างแบรนด์ใหม่ชื่อเอาถ่าน owtarn‬ ณ  ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจ่าสมบัติ โดยการบรรยาย นำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดการสร้างสรรค์คุณภาพผลิตภัณฑ์ จากถ่านอัดแท่ง การร่วมวิพากษ์ การสาธิตและร่วมผลิตก้อนถ่านอัดมือ การร่วมแสดงความคิดเห็นแบบสนทนากลุ่มย่อย และส่งมอบชุดทดลองตลาดให้ไปดำเนินการต่อยอดทางธุรกิจที่เข้มแข็งและพึงพาตนเองได้ต่อไป 6-8-2558


ตำบลหนองแซง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ซึ่งมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 20 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร ประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 80 และวิถีการทำการเกษตรกรรมของประชาชนในแต่ละปี เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรคิดเป็นมูลค่าร่วม 30 ล้านบาท และจากการที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก จึงทำให้คุณภาพของดินเสื่อมโทรมลงเป็นอย่าง จึงเป็นที่มาของการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชนในการลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตรลง และต่อมาจึงเป็นจุดกำเนิดของ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง ศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง ชุมชน/ เทศบาล/ หน่วยงานราชการ/ ภาคเอกชน โดยได้มีการบูรณาการความร่วมมือกันส่งเสริม สนับสนุน โดยจุดก่อเกิดเริ่มจากโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท “เศรษฐกิจพอเพียง”
พึ่งตนเอง บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ในพื้นที่ของบ้านแหลมทอง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองแซง อำเภอหันคาเพื่อดำเนินกิจกรรมของศูนย์เรียนรู้ และได้มีการสร้างโรงงานอาหารดิน อินทรีย์ชีวภาพ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และมีแปลงเกษตรผสมผสาน เป็นแปลงสาธิต เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และฟื้นฟูทรัพยากรดินไปในตัว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชน ได้นำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นแนวทางแห่งการพึ่งพาตนเอง และการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับครอบครัว และชุมชนต่อมาได้มีการบูรณาการความร่วมมือกัน จากภาคีการพัฒนาต่างๆ หลายภาคส่วนในการให้การส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงาน ทั้งทางด้านงบประมาณ และทางด้านวิชาการ จนมีการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง โดยมี “จ่าเอกสมบัติ วิสูตรพันธ์” เป็นประธานศูนย์ฯ ตั้งแต่เดิม ชาวตำบลหนองแซง ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก จึงทำให้คุณภาพของดินเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมกับชาวบ้านแหลมทอง ดำเนินโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท “เศรษฐกิจพอเพียง” พึ่งตนเอง เมื่อประมาณเกือบสิบปีที่แล้ว ซึ่งมีหลักการคือ การทำการเกษตรโดยเน้นการใช้ อินทรีย์ชีวภาพ แทน ปุ๋ยเคมี โดยมีการตั้ง ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน โดยได้บริจาคพื้นที่ 1 งาน และ อบต. หนองแซง จัดซื้อสมทบ ให้อีกรวมเป็นพื้นที่ 2 ไร่ เพื่อดำเนินกิจกรรมของศูนย์เรียนรู้ และได้มีการสร้างโรงงานอาหารดิน อินทรีย์ชีวภาพ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และมีแปลงเกษตรผสมผสาน เป็นแปลงสาธิต เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และฟื้นฟูทรัพยากรดินไปในตัว ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชน ได้นำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นแนวทางแห่งการพึ่งพาตนเอง และการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับครอบครัว และชุมชนต่อมาได้มีการบูรณาการความร่วมมือกัน จากภาคีการพัฒนาต่างๆ หลายภาคส่วนในการให้การส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงาน ทั้งทางด้านงบประมาณ และทางด้านวิชาการ จนมีการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้กลุ่มร่วมทุนวิสาหกิจชุมชนตำบลหนองแซง โดยมี “จ่าเอกสมบัติ วิสูตรพันธ์” เป็นประธานศูนย์ฯ นอกจากเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ชุมชนแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมีกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการอยู่เป็นศูนย์เรียนรู้ ได้แก่ การผลิตปุ๋ยน้ำ การผลิตปุ๋ยหมัก การผลิตปุ๋ยผง การผลิตปุ๋ยเม็ด การผลิตน้ำมันใบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว และเมล็ดสบู่ดำ การผลิตแก๊สชีวภาพจากขยะในครัวเรือน การผลิตถ่านอัดแท่งไร้ควันจากเศษถ่านเหลือใช้ การสีข้าวจากโรงสีเล็ก การเผาถ่านแบบได้น้ำส้มควันไม้ และการผลิตน้ำดื่มชุมชน เป็นต้น

No comments:

Post a Comment